Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

admin

การเปิดงานเก่าใน Scratch

การเปิดงานเก่าใน Scratch เมื่อเราเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ Scratch เราสามารถบันทึกงานในโปรไฟล์ของเราได้อย่างง่ายดายและสะดวกต่อการเปิดเพื่อแก้ไข                ไปดูและทดลองทำตาม ได้เลยครับ 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu คลิก “ลงชื่อเข้าใช้”   2.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเรา จากนั้นคลิกที่ “ลงชื่อเข้าใช้”   3.กดที่โปรไฟล์ของเรา คลิกที่ “ผลงานของฉัน”   4.เลือกผลงานของเราที่เคยบันทึกไว้ แล้วคลิก”ดูด้านใน”   5.รอสักครู่…..   6.จะปรากฏผลงานของเราดังภาพ

การเปิดงานเก่าใน Scratch Read More »

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.เลื่อนไปด้านล่างสุดของเว็บไซต์ 3.กดเลือกภาษาไทย 4.การเปลี่ยนภาษาในคำสั่งโค๊ดดิ้ง กดที่สัญลักษณ์ลูกโลก 5.กดเลือก “ไทย”

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch Read More »

สมัครสมาชิก Scratch ฉบับ 2022

ขั้นตอนการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.คลิกเข้าร่วม Scratch 3.ใส่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ (ชื่อเล่น) หากชื่อสั้นเกินไปหรือซ้ำ ให้เพิ่มตัวเลขเช่น 2022 4.กำหนดรหัสผ่าน 6 ตัว ให้เหมือนกันทั้ง 2 ช่อง 5.เลือก Thailand แล้วกดต่อไป 6.เลือก เดือนเกิดและปีค.ศ.ที่เกิด แล้วกดต่อไป 7.เลือก (หรือไม่เลือก) เพศ แล้วกดต่อไป 8.ใส่อีเมล แล้วกด สร้างบัญชีของคุณ ***หากไม่มีอีเมลหรือจำไม่ได้ ให้ไปที่ https://10minemail.com เพื่อขออีเมลชั่วคราว 9.คลิกเริ่มต้นใช้งาน

สมัครสมาชิก Scratch ฉบับ 2022 Read More »

สร้างป้อมล้อมปีศาจ

เกม . เกมฝึกสมองและวางแผน (strategy game) หากได้ยินคำว่า “เกม” หลายคนคงจะนึกถึงสื่อบันเทิงที่มีไว้ให้ความเพลิดเพลินและผ่อนคลายใช่ไหมครับ ขณะที่บางคนก็อาจจะมองเกมในเชิงลบว่า เป็นสื่อบันเทิงที่ทำให้ติดและส่งผลต่อการทำงานหรือการเรียนได้ แต่ทุกคนทราบไหมครับว่า เกมที่มีประโยชน์ในการ “ฝึกสมอง” นั้นก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งเกม Puzzle, เกมที่ฝึกทักษะการคำนวณ ฝึกการใช้ตรรกะ หรือฝึกวางแผน ไปจนถึงเกมที่ให้ความรู้ด้านภาษา เรียกได้ว่า ได้ทั้งความบันเทิงและความรู้ในเวลาเดียวกันเลยครับ แต่เนื่องจากเกมฝึกสมองมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังมีจำนวนมากมายจนเลือกเล่นกันไม่ถูก วันนี้เราจึงขอนำเสนอเกม Tower Defense เกมแนวป้องกันฐานหรือสร้างป้อมนั่นเอง เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และวางแผนเป็นลำดับขั้นตอน Share on facebook Facebook

สร้างป้อมล้อมปีศาจ Read More »

business, technology, city

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม allowfullscreen

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล Read More »

ความเป็นส่วนตัว

ความเป็น . (Information Privacy) ความสำคัญของความเป็นส่วนตัว     ปัจจุบันมนุษย์มีการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีที่พบมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วย ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร มีการเก็บข้อมูล ประมวลผลและแสดงข้อมูลบนโลกออนไลน์ ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายดาย บางคนเลือกใช้ข้อมูลที่ดี แต่บางคนนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหลักคุณธรรม จริยธรรม สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเกิดอาชญากรรมในสังคมได้          ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เป็นสิทธิในการเป็นเจ้าของและควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ให้กับผู้อื่น จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น 1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผย ให้กับผู้อื่น เช่น การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ และตัวอย่างพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม เช่น การติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคล การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) หมายถึง ความถูกต้องของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น

ความเป็นส่วนตัว Read More »

tablet, ipad, read

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย https://youtu.be/0gpVS3iNdUY เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร     เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามสิทธิ        คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมเป็นอย่างมากเช่นการสนทนาสื่อสารการส่งข้อมูลและแชร์ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความรูปภาพหรือคลิปวีดิโอแต่ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็เป็นเหมือนดาบสองคมหากผู้ใช้นำไปใช้งานในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การขโมยข้อมูลของคนอื่นและนำไปเผยแพร่ต่อทำให้ผู้อื่นเสียหายการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่นให้เชื่อใจและโอนเงินให้      นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลส่งผลให้การกระทำผิดเป็นไปได้อย่างง่ายดายและสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง และเนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีความแตกต่างไปจากอาชญากรรมทั่วๆไป ในสังคมซึ่งส่งผลให้กฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่ครอบคลุมการกระทำผิดในลักษณะนี้และไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้ที่ก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้  เช่น การโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของผู้ใช้รายอื่นๆผ่านทางบัญชีธนาคารออนไลน์การโจรกรรมรูปภาพหรือคลิปวีดิโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นอีกทั้ง พยานหลักฐานต่างๆนั้นสามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือถูกทำลายได้ง่าย เช่น ข้อมูลที่ถูกบรรจุอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) หรือ แฟลชไดรฟว์ (Flash Drive)       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ในปี พ.ศ. 2550 จึงได้เริ่มมีการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ จนกระทั่งในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว โดยมุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นฉบับที่ 2 คือ ปี2560 ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน สรุป 13 ข้อ สาระสำคัญจำง่ายๆ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Read More »

Scroll to Top
Click to listen highlighted text!