Welcome to ครูชัชดอทคอม   Click to listen highlighted text! Welcome to ครูชัชดอทคอม

วิทยาการคำนวณ

สร้างเกมแข่งรถโดยใช้ Scratch 2

สร้างเกมแข่งรถโดยใช้ Scratch 2 ***นักเรียนอาจเปลี่ยนภาษา เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ตรงกับคลิปด้านบน ขอบคุณคลิปจากช่อง https://www.youtube.com/c/ApiwatWongkanha

สร้างเกมแข่งรถโดยใช้ Scratch 2 Read More »

การเปิดงานเก่าใน Scratch

การเปิดงานเก่าใน Scratch เมื่อเราเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ Scratch เราสามารถบันทึกงานในโปรไฟล์ของเราได้อย่างง่ายดายและสะดวกต่อการเปิดเพื่อแก้ไข                ไปดูและทดลองทำตาม ได้เลยครับ 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu คลิก “ลงชื่อเข้าใช้”   2.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเรา จากนั้นคลิกที่ “ลงชื่อเข้าใช้”   3.กดที่โปรไฟล์ของเรา คลิกที่ “ผลงานของฉัน”   4.เลือกผลงานของเราที่เคยบันทึกไว้ แล้วคลิก”ดูด้านใน”   5.รอสักครู่…..   6.จะปรากฏผลงานของเราดังภาพ

การเปิดงานเก่าใน Scratch Read More »

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.เลื่อนไปด้านล่างสุดของเว็บไซต์ 3.กดเลือกภาษาไทย 4.การเปลี่ยนภาษาในคำสั่งโค๊ดดิ้ง กดที่สัญลักษณ์ลูกโลก 5.กดเลือก “ไทย”

การเปลี่ยนภาษาใน Scratch Read More »

สมัครสมาชิก Scratch ฉบับ 2022

ขั้นตอนการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ Scratch 1.เข้าสู่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu 2.คลิกเข้าร่วม Scratch 3.ใส่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ (ชื่อเล่น) หากชื่อสั้นเกินไปหรือซ้ำ ให้เพิ่มตัวเลขเช่น 2022 4.กำหนดรหัสผ่าน 6 ตัว ให้เหมือนกันทั้ง 2 ช่อง 5.เลือก Thailand แล้วกดต่อไป 6.เลือก เดือนเกิดและปีค.ศ.ที่เกิด แล้วกดต่อไป 7.เลือก (หรือไม่เลือก) เพศ แล้วกดต่อไป 8.ใส่อีเมล แล้วกด สร้างบัญชีของคุณ ***หากไม่มีอีเมลหรือจำไม่ได้ ให้ไปที่ https://10minemail.com เพื่อขออีเมลชั่วคราว 9.คลิกเริ่มต้นใช้งาน

สมัครสมาชิก Scratch ฉบับ 2022 Read More »

business, technology, city

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม allowfullscreen

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล Read More »

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์)

Creative Commons คืออะไร Creative Commons หรือ สัญญาอนุญาตแบบเปิด เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ทำผลงานนั้นไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เหตุผลการมีอยู่ของ Creative Commons (CC) ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของสามารถบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า ผลงานของตัวเขาสามารถนำไปใช้งานในลักษณะใดต่อได้บ้างอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ Creative Commons ยังช่วยปกป้องผู้ใช้ทั่วไปให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตราบใดที่เขาทำถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนผลงาน ผ่าน 4 สัญลักษณ์ที่แทนแต่ละเงื่อนไข มั่นใจว่าหลายคนเคยเห็นผ่านตา แต่รู้ไหมว่า สัญลักษณ์แต่ละอย่างหมายถึงอะไร https://www.youtube.com/watch?v=KZxblRoZqP0 1. Attribution (BY) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องให้เครดิตที่มาของเจ้าของผลงานนั้น ซึ่งถ้าเขาอยากจะใช้ผลงานนั้นโดยไม่มีเครดิตชื่อเจ้าของผลงานกำกับ จะต้องทำการขอนุญาตเจ้าของผลงานก่อน 2. NonCommercial (NC) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน 3. NoDerivatives (ND) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย ผลงานชิ้นนั้นได้ แต่ห้ามดัดแปลงงาน เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุาตจากเจ้าของผลงานก่อน 4. ShareAlike (SA) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ผลงานที่ดัดแปลงนั้นจะต้องกำกับด้วยสัญญาอนุญาตเงื่อนไขเดียวกันกับต้นฉบับ เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) Read More »

bullying, child, finger

Cyber bullying วิทยาการคำนวณ ป.6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันอย่างปลอดภัย

Cyberbullying คืออะไร      การกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์ เป็นการทำร้ายกันทางความรู้สึกหรือจิตใจ เช่น การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ส่อเสียด ประจาน แฉ โจมตี ข่มขู่ หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ทำให้เหยื่อเกิดความอับอาย เสียใจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วเมื่อมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนโลกไซเบอร์มาผสมโรงด้วยความคิดความเชื่อหรือความเห็นของตัวเอง เป็นการกระทำซ้ำๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการใส่ร้าย เช่น สร้างบัญชีปลอมแล้วเอาภาพเหยื่อมาทำเป็นโปรไฟล์แล้วไปโพสต์ด่าคนอื่น ทำให้สังคมเชื่อว่าเหยื่อเป็นคนไม่ดี การตัดต่อคลิปหรือภาพเหยื่อให้ขำหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง การนำความลับหรือภาพลับมาเปิดเผยแล้วแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง การสร้างกลุ่มหรือเพจต่อต้านคนที่ตัวเองไม่ชอบ โดยแอบถ่ายภาพทุกอิริยาบทเอามาจับผิด เอามาถกกันให้เกิดความเสียหาย การโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ หรือกีดกันให้ออกจากกลุ่มออกจากสังคมที่อยู่ เป็นต้น แบบไหนบ้าง เข้าข่ายไซเบอร์บูลลี่      รูปแบบการบูลลี่ ก็มีแตกต่างออกไป แต่ถ้าพูดถึง “ไซเบอร์บูลลี่” ที่เราเห็นบ่อยครั้ง ก็จะเป็นการล้อเลียนสรีระรูปร่าง หน้าตา สีผิว การแสดงออกในชีวิตจริง ที่ขัดกับบทบาท หรือภาพจำของคนทั่วไป ซึ่งแม้กระทั่งคนที่เป็นดารา นักแสดงเอง มีไม่น้อยที่ถูกบูลลี่ในลักษณะนี้ และอีกแบบก็คือ การประจานให้เกิดความอับอาย

Cyber bullying วิทยาการคำนวณ ป.6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันอย่างปลอดภัย Read More »

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประยุกต์ใช้การค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียน

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประยุกต์ใช้การค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียน คำชี้แจงก่อนเข้าเรียน 1.ให้นักเรียนคลิกเข้าสู่บทเรียน ศึกษาเนื้อหาให้ครบถ้วน  2.เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม และดูคลิปวิดีโอ  3.เล่นเกมตอบคำถามชิงรางวัลโดยใส่ชื่อ ชั้น เลขที่ตนเอง allowfullscreen Share on facebook Facebook Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn

บทเรียนออนไลน์เรื่อง การประยุกต์ใช้การค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียน Read More »

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การวางแผนโดยใช้ผังงาน (Flowchart)

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การวางแผนโดยใช้ผังงาน (Flowchart) วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอดการออกแบบโปรแกรม เป็นการอธิบายการทำงานของโปรแกรมอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการออกแบบโปรแกรมสามารถทำได้ทั้งการเขียนข้อความ และการเขียนผังงาน การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนข้อความ โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม (block) นำมาต่อกันเพื่อสร้างรหัสคำสั่ง (Code) เพื่อสั่งให้โปรแกรม Scratch ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้ สามารถนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ โดยต้องกำหนดตัวแปร เขียนโปรแกรมอย่างมีเงื่อนไข ตัวชี้วัดว 4.2 ป.6/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข จุดประสงค์1. อธิบายความหมายสัญลักษณ์ผังงานเบื้องต้นได้ (K)2. เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ผังงานในการออกแบบและวางแผน (P)3. นำการเขียนผังงานไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (A) allowfullscreen

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การวางแผนโดยใช้ผังงาน (Flowchart) Read More »

Scroll to Top
Click to listen highlighted text!